หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 องค์ประกอบงานศิลปะ
องค์ประกอบของศิลปะ
เป็นองค์ประกอบที่ถูกกำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบ มูลฐานของ ความงาม ในการออกแบบ จำเป็นต้องเข้าใจคุณค่าและมูลฐาน ที่สำคัญของความงาม สามารถนำไปใช้ให้เกิดความกลมกลืน องค์ประกอบของศิลปะประกอบด้วย จุด (point) เส้น (line) สี (colour) รูปร่างรูปทรง (shape and form) ลักษณะผิว (texture) ลวดลาย (pattern) และช่องว่าง (space or volumn)
๑. จุด (point)
ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุด ที่จะเริ่มต้น ไปสู่ส่วนอื่น ๆ จึงเป็นจุดที่มีมวล (mass) และมีปริมาตร ได้ด้วย จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ได้ การใช้จุด ก็เพื่อบอกถึงความต่อเนื่อง เชื่อมโยง การเน้นนำสายตา หรือจะใช้เน้น ให้เกิดความเด่น ขององค์ประกอบอื่น ๆ ก็ได้ จุดจะกำหนดตำแหน่งในที่ว่าง โดยความรู้สึกของเราแล้ว จุดไม่มีความยาว ความกว้าง และความลึก ฉะนั้นจุดจึงอยู่นิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว (static) ไม่มีทิศทาง และเป็นศูนย์รวม ( centralized)
๒. เส้น (line)
เส้นในทางเรขาคณิตหรือในทาง การเขียนแบบนั้น หมายถึง จุดที่เรียงต่อ ๆ กันส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือเขียนแบบกำหนดขนาดและทิศทางแต่เส้นในการออกแบบจะมีอิสระทั้ง ขนาด ทิศทาง ระยะ มีสภาพเป็น ตัวแบ่ง พื้นที่ หรือกำหนดบริเวณว่าง (space) และสร้างรูปทรง ขององค์ประกอบ ต่าง ๆ เส้นในการออกแบบจะให้ความรู้สึกต่อการมองด้วย เช่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว ความต่อเนื่องสัมพันธ์ และการนำสายตา ลักษณะของเส้นในการ ออกแบบ มีลักษณะต่าง ๆ เช่น
– เส้นตั้งตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแกร่ง แน่นอน ตรง สง่า แสดงถึงความสูง เส้นตั้งที่ประกฏในสวน เช่น ต้นไม้ เสาโคมไฟ กำแพง รั้ว
– เส้นนอนหรือเส้นระดับ ให้ความรู้สึกราบเรียบ สงบ พักผ่อน เช่น เส้นที่ขอบฟ้า ไกล ตัดกับทะเลยามเย็น ในทางการจัดสวนเส้นนอนจะสร้างพื้นที่ในทางราบ เช่น สนามหญ้า ผิวน้ำ ทางเดิน เส้นที่เกิดจากการตัดแต่งต้นไม้ เช่น แนวของเข็มญี่ปุ่น แสยก อิทธิพลของเส้นนอนในสวนจะช่วยลด ความสูงโดดของเส้นตั้ง ถือเป็นมิติ ลวงตา
– เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนไหว สบาย และความเป็นอิสระ การเคลื่อนที่ จะเห็นได้ว่า ในการออกแบบสวน จะใช้เส้นโค้งมาก เช่น เส้นที่ไหลคดเคี้ยว ของสนามหญ้า ทางเดินเท้า ถนน สระน้ำ
– เส้นทะแยง เส้นขวาง เส้นซิกแซก เส้นเหล่านี้ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว รวดเร็ว ตื่นเต้น แข็งกร้าว อิทธิพลของเส้นลักษณะนี้ คือ ความมีแบบแผน น่าเกรงขาม จึงเป็นเส้นที่มักใช้ ตกแต่งสวนประดิษฐ์
๓. รูปร่างและรูปทรง (form and shape)
เมื่อเรามองเห็นต้นไม้ เส้นรอบนอกของทรงพุ่มที่มีลักษณะ คดโค้ง หรือเส้นตั้ง ของลำต้น ซึ่งเป็นเส้นรอบรูปที่ตัดกับบริเวณว่าง สิ่งนั้น คือ รูปร่าง (form) มี ๒ มิติ (กว้างกับยาว) ส่วนเนื้อที่ภายในของทรงพุ่มหรือทรงกระบอก ของลำต้นนั้น เป็นรูปทรง (shape) มี ๓ มิติ ให้ความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อน มีน้ำหนัก มีเนื้อที่ภายใน (กว้าง ยาว และลึก)
– รูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ เป็นรูปร่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
– รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น รูปครึ่งวงกลม รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม เป็นต้น
– รูปร่าง รูปทรงอิสระ เป็นรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากรูปร่าง ธรรมชาติ และรูปร่างเรขาคณิต
๔. มวลและปริมาตร (mass and volume)
มวล หมายถึง เนื้อทั้งหมดของสาร ถ้าเป็น พุ่มไม้ ก็คือ พื้นที่ภายในทรงพุ่มทั้งหมด มวลของหิน คือ เนื้อที่แข็งแกร่งของหิน
ปริมาตร (volume) คือ พื้นที่กินระวางในอากาศหรือบริเวณว่าง (space) ของวัตถุต่าง ๆ กำหนดเป็นรูปทรงที่แสดงเป็น ๓ มิติ การกำหนดมวลและปริมาตร มักจะถูกเรียกกลืนไปกับ เรื่องของเนื้อที่และปริมาณ เช่น ใช้พันธุ์ไม้ในปริมาณที่มาก ๆ มาปลูกรวมกัน เพื่อสร้างเนื้อที่ ดังนั้นในการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงในพื้นที่ จึงต้องคำนึงถึงปริมาณของวัตถุและการใช้เนื้อที่
๕. ผิวสัมผัส (texture) หมายถึง ลักษณะพื้นผิวหน้าของวัตถุ เมื่อสัมผัสจับต้อง หรือมองเห็นแล้วรู้สึกได้ว่าหยาบ ละเอียด เป็นมัน ขรุขระ เป็นเส้น เป็นจุด เป็นกำมะหยี่ หรือพื้นผิวสัมผัสเรียบ สม่ำเสมอ จะให้ลักษณะผิวสัมผัสละเอียด (Fine texture) ความรู้สึก ต่อ ลักษณะผิว
– ลักษณะผิวที่เรียบ จะให้ความรู้สึกลื่น คล่องตัว รวดเร็ว
– ส่วนลักษณะผิวที่ขรุขระ หยาบ หรือเน้นเส้นสูงต่ำ จะให้ความรู้สึก มั่นคง แข็งแรง
๖. ลวดลาย (pattern) ลวดลายในการจัดสวน เป็ฯการจัดตกแต่งพื้นผิว (surface) ด้วยลักษณะต่าง ๆ ให้เห็นเป็นลวดลายขึ้น อาจจะจัดโดยใช้ลักษณะซ้ำ ๆ กันของ จุด เส้น สี หรือรูปร่างบนพื้นผิว เพื่อปรุงแต่งพื้นผิวให้สวยงาม ผิวพื้นในสวน ที่สามารถกำหนด ลวดลายลงไปได้ เช่น
– พื้นผิวที่ให้ความรู้สึกอ่อนนุ่ม (sorf surface) ได้แก่ สนามหญ้า พื้นที่โรยกรวด ทราย
– ผิวพื้นที่ให้ความรู้สึกกระด้าง (hard surface) ได้แก่ พื้นซิเมนต์ พื้นศิลาแลง พื้นอิฐ หรือพื้นหินขัด
– พื้นผิวที่ให้ความรูเ้สึกค่อนข้างแข็ง (Semi-hard surface) ได้แก่ พื้นซิเมนต์สลับปูหญ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น